สภาองค์การนายจ้าง ส่งหนังสือท้วงการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทั่วประเทศ

สภาองค์การนายจ้าง ส่งหนังสือท้วงการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทั่วประเทศ

สภาองค์การนายจ้าง ดำเนินการส่งหนังสือท้วงการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทั่วประเทศ ให้แก่กระทรวงแรงงานเพื่อพิจารณาทบทวนอีกครั้ง (29 เม.ย. 2565) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ ในโอกาสนำตัวแทนคณะ สภาองค์การนายจ้าง ซึ่งมีสภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ สภาองค์การนายจ้าง สภาอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจและอุตสาหกรรมแห่งชาติ และสมาคมนายจ้าง 40 – 50 สมาคมนายจ้าง เข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดพิจารณา ค่าแรงขั้นต่ำ ตามความเป็นจริงและเหมาะสม ซึ่งไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นจาก 331 บาทเป็น 492 บาททั่วประเทศ

โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน 

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน ดร.จำลอง ช่วยรอด คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุชาติ กล่าวว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้งนั้น มีคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดค่าจ้าง ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรไตรภาคีทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างพิจารณาและปรึกษาหารืออย่างรอบคอบก่อนจะได้ข้อยุติร่วมกัน แม้ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบันแล้ว

ในปี 2565 คณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดแผนการทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด จากนั้นคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาข้อมูลทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565

ดร.ทวีเกียรติ กล่าวว่า ในวันนี้สภาองค์การนายจ้างฯ มีมติยังไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ผู้ประกอบการนายจ้างบางประเภทต้องหยุดกิจการชั่วคราว แรงงานขาดแคลน ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น กลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเต็มรูปแบบ ตลอดจนสถานการณ์สู้รบของประเทศเพื่อนบ้านและสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน รัสเซียยังไม่นิ่งกรณีจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงขอให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเนื่องจากสภาองค์การนายจ้าง และสมาคมนายจ้าง ยังไม่เห็นสมควรขึ้นในช่วงนี้ และเห็นสมควรให้คณะกรรมการไตรภาคี โดยฝ่ายภาครัฐเป็นผู้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้นำเสนอ

ข่าวปลอม – ลงทะเบียนรับ เงินสงเคราะห์บุตร ไปได้ถึง 6 ขวบ

จากการที่มีข่าวที่ว่า พ่อแม่สามารถทำการลงทะเบียนรับ เงินสงเคราะห์บุตร จำนวน 1,400 บาท/เดือน ไปได้ถึง 6 ขวบนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

(29 เม.ย. 2565) ตามที่มีการส่งต่อคำแนะนำเรื่อง พ่อแม่สามารถลงทะเบียนขอรับ เงินสงเคราะห์บุตร 1,400 บาท ในทุกเดือน ให้บุตรได้จนถึงอายุ 6 ขวบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ในกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลโดยระบุว่าพ่อแม่รีบลงทะเบียนเพื่อรับเงินช่วยเหลือรับเงินรวม 1,400 บาท ให้บุตรได้ถึงอายุ 6 ขวบ ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ผู้ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์นั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้น โดยเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สามารถเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือหลังการเป็นผู้ประกันตน มิใช่จำนวนเงิน 1,400 บาทตามข้อความที่กล่าวอ้าง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สำนักงานประกันสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผู้ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์นั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้น และมิใช่จำนวนเงิน 1,400 บาทตามข้อความที่กล่าวอ้าง

โฆษกกระทรวงการคลังย้ำว่า ประชาชนรายเดิมฯ ที่ยังไม่ได้กดยืนยันสิทธิเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 สามารถกดยืนยันสิทธิผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 22.59 น. จนถึงวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 ได้จนกว่ากระทรวงการคลังจะปิดรับสมัคร

หากตรวจสอบแล้ว พบว่า “สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์” ให้ผู้ลงทะเบียนรอผลการตรวจสอบคุณสมบัติได้ในช่วงเดือนมกราคม 2566 โดยกระทรวงการคลังจะแจ้งวันประกาศผลให้ทราบอีกครั้ง หากผู้ลงทะเบียนพบว่า “สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนหรือข้อมูลสมาชิก ในครอบครัวไม่ตรงตามฐานข้อมูลกรมการปกครอง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป